วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาต  วัชรพันธุ์   แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
ในวันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียน ช้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศ ของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้อง เรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การ เกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อ ลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึง เวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น/ทำลายสิ่งของ
คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
1) ในปัจจุบัน เด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
2) ใน ปัจจุบันเด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด (ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
3) เด็ก ไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด (ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
4) ขณะ นี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง (มีชื่อเสียง)
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
6) ครู ประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต (สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
7) โรงเรียน มีการพัฒนารายวิชา (วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่ (หลักสูตรประเทศสิงคโปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
9) โรงเรียน มีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ   
              
การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting (2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ (Junk Food) ปัญหา การเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน
จากคำถามดังกล่าวให้สรุปและตอบลงในบล็อกของนักศึกษา
                จากการศึกษาเนื้อหาข้างต้นข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการที่เราซึ่งเป็นครูจะต้อง ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน พร้อมๆกับการพัฒนาทางด้านสมอง  ซึ่งในยุคสมัยนี้เทคโนโลยีกับสื่อด้านต่างๆ  มีการพัฒนาและก้าวหน้าเป็นอย่างมากเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลอย่างมากกับเยาวชน ไทยในปัจจุบันในฐานะที่เราเป็นครูอยู่ในด้านการศึกษาก็ควรที่จะมีการเรียน การสอนที่เน้นทางด้านการพัฒนาจิตใจให้มาก ในยุคสมัยนี้จึงอยู่ที่ว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญและจำเป็นต่อคนวัยต่างๆแต่ ทุกสิ่งทุกอย่างต่างก็มีทั้งประโยชน์และโทษซึ่งที่เราเรียกว่า ดาบสองคม จากที่ข้าพเจ้าได้รับรู้ข่าวสารต่างๆในปัจจุบันที่เกี่ยวกับเยาวชนก็มี เหตุการณ์ต่างๆที่น่าตกใจเป็นอย่างมาก  เช่น  นักเรียนตบตีกันเพราะแย่งผู้ชาย  นักเรียนทำแท้งและนำแด็กไปทิ้งตามที่ต่างๆ  นักศึกษาชายชกต่อยกันหรือใช้อาวุธที่อันตรายต่อสู้กัน  เยาวชนมั่วสุมยาเสพติดและมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และนักศึกษาขายบริการทางเพศ  เป็นต้น  ล้วนแต่เป็นพฤติกรรมที่ก้าวร้าว  การใช้ความรุ่นแรง  และการตัดสินใจทำอะไรที่ผิดศีลธรรม  ส่วนด้านสุขภาพกายของเยาวชนไทยตอนนี้ก็น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก  เพราะวัฒนธรรมตะวันตกมีบทบาทต่อการกินของเยาวชนไทยที่ตามเพื่อน  ตามกระแสรสนิยม  เป็นการกินที่รวดเร็วแต่ไม่ค่อยมีประโยชน์ทางด้านอาหารเป็นอาหารจานด่วนที่มี สารอาหารประเภท  แป้ง  ไขมัน  และน้ำตาลเป็นจำนวนมาก  ซึ่งล้วนแต่ทำให้เยาวชนไทยต่อไปจะเกิดภาวะอ้วน  และเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ  ดังที่ว่า  “พุงเปรียบเสมือนโกดังเก็บโรค”  ดังนั้นข้าพเจ้าคิดว่าถ้าประเทศไทยสามารถทำหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนที่ เน้นทางด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย  ก็จะเป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ดีอย่างยิ่งต่อเยาวชนไทยที่มีเทคโนโลยีก้าวไกล อย่างเช่นในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น