วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก


การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ตอบ ดิฉันมีความคิดเห็นว่าเป็นการทำกิจกรรมที่ดีมาก เพราะในแต่ละกิจกรรมอาจารย์ได้ให้หัวข้อที่น่าศึกษาเรียนรู้มาก และดิฉันได้คิดวิเคราะห์ความรู้ที่ได้หามา และนำมาสรุปผลที่ได้รับว่าเป็นอย่างไรมีการแสดงความคิดเห็น นำเสนอเรื่องราวต่างที่อาจารย์สั่งให้ทำ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสั่งสม สร้างเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถทางสติปัญญาและด้านอื่นๆของตนเอง และสร้างสัมพันธ์ระหว่างเรากับบุคคลอื่นในชุมชน blog

2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ตอบ มีความรู้มากเพราะสิ่งที่อาจารย์ได้สอนให้ทำสามารถนำไปใช้ได้จริงในอาชีพครู และเป็นสื่อที่ทันสมัยสมารถติดต่อเชื่อมโยงกับบุคคลอื่นได้ ทำให้เราสามารถรู้เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นได้ และดิฉันได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงค์ และสื่อชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลง วิดีโอ หรือสื่ออื่นๆ ที่สามารถแสดงผลผ่านเว็บไซต์ได้ค่ะ

3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ตอบ สะดวกมากเพราะสามารถค้นหาความรู้จากที่อื่นได้ และเป็นสื่อที่ทันสมัย มีความรวดเร็ว ต่อการเรียนการสอนมาก สมารถแลกเปลี่ยนความรู้จากเพื่อนได้หลายมุมมอง สมารถทำงานส่งอาจารย์แทนกระดาษได้ทำให้ประหยัดและทำให้รวดเร็ว นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นคนตรงต่อเวลาด้วยในการส่งงาน

4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
ตอบ มากที่สุด


สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management
Classroom management  (การจัดการชั้นเรียน)  หมายถึงการจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งภายในชั้นเรียน  และภายนอกชั้นเรียน  การจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ  

2. Happiness Classroom
หมายถึง    Happiness เป็น กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ สาระการเรียนรู้ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษา ท้าทายให้แสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้ เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน

3. Life-long Education
การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก

4. formal Education
การ ศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

5. non-formal education
 การศึกษานอกระบบหรือ Non-formal Educationหมายถึงการจัดการกิจกรรม การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป สมรรถนะที่เกิดจากการศึกษานอกระบบมีตั้งแต่ทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ไข ความขัดแย้งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเป็นผู้นำ การแก้ปัญหาร่วมกัน การสร้างความเชื่อมั่น ความรับผิดชอบและความมีวินัย การศึกษานอกระบบยุคใหม่จึงเน้นการเรียนรู้และสมรรถนะ

6. E-learning
e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

7. Graded
หมายถึง    ผู้สำเร็จการศึกษา

8. Policy education
หมายถึง     เรื่องการเมือง (Politics) และเรื่องการศึกษา (Education) ความ เข้าใจทั้ง 2 เรื่อง ต้องไปพร้อมกันในการสร้างสังคมประชาธิปไตย เรื่อง ประชาธิปไตย จะได้เข้าใจตั้งแต่เด็ก เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน (mutual understanding) ทั้งเรื่องการเมืองและการศึกษาทั่วไป เป็นสองคำที่โดยปกติจะเน้นทางการเมือง แต่ต้องไม่ลืมว่าการศึกษา (Education) มี บทบาทเป็นกลางที่สำคัญในการทำหน้าที่ให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน สิ่งที่เราพบเห็นข่าวทางโทรทัศน์ ได้ยินทางวิทยุ ล้วนไม่ใช่การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือพัฒนาพลเมือง หากแต่เป็นเพียงการรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองเท่านั้น (Political Information)

9. Vision
วิสัยทัศน์ หมายถึง การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม วิสัยทัศน์ จะเกิดจากการรู้จักคิดโดยใช้ปัญญา และมุ่งมั่นให้เกิดขึ้นจริง

10. Mission
พันธ กิจ (mission) หมายถึง หน้าที่โดยรวมของสถาบันการศึกษา เป็นการตอบคำถามที่ว่า สถาบันการศึกษาต้องการบรรลุอะไร เป็นพันธะสัญญาที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ เป็นจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันการศึกษาและเป็นขอบข่าย การดำเนินงานของสถาบันการศึกษานั้น พันธกิจอาจกำหนดโดยผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือตลาดเป้าหมายที่สถาบันการศึกษาให้บริการ ความสามารถที่โดดเด่นของสถาบันการศึกษา หรือเทคโนโลยีที่สถาบันการศึกษาใช้

11. Goals
เป้าหมาย (GOAL) คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการ เป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ หากแต่การกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตางหาก จะมีความหมายต่อความสำเร็จที่คาดหวัง หลายองค์กรมีเป้าหมาย แม้กระทั่งแผนดำเนินงานมากมายแต่ไม่ค่อยบรรลุเมื่อลงมือทำการ(Implement) เหตุเพราะว่าขาดการติดตามงาน ไปให้ความสำคัญของเป้าหมายมากกว่าการกระทำ เมื่อถึงปลายปีที่ต้องมาทบทวนเป้าหมาย จึงมักพบว่าไปได้ไม่ถึงไหน เป็นได้แค่เป้าที่สวยหรู

12. Objective
วัตถุประสงค์ คือจุดมุ่งหมายปลายทางของการดำเนินงาน หรืออาจว่าเป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการเห็นก็ได้ ในการทำกิจกรรมใดๆก็ตามจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อเห็นจุดหมายในอนาคตของการทำกิจกรรมนั้นๆเพื่อกำหนดแนวทางในการไปสู่จุดหมายปลายทางได้ชัดเจน

13. backward design
Backward Design หมายถึงกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตลอดกระบวนทัศน์ที่มุ่งไปสู่ผลผลิตตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้

14. Effectiveness
Effectivenessคือ ความมีประสิทธิผล ซึ่งสามารถบรรลุเป้าที่ตั้งไว้ ซึ่งแสดงว่าเก่ง จนทำบรรลุเป้าชนะในตลาดภายนอกได้ ซึ่งควรต้องมีประสิทธิภาพภายในด้วย

15. Efficiency
Efficiency คือความีประสิทธิภาพ ทำงานได้เก่งึ้น อาจประหยัดต้นทุน หรือออผลผลิตเพิ่มก็ได้

16. Economy
ระบบเศรษฐกิจ หมาย ถึงกลุ่มบุคคลของสังคมที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มของสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งยึดถือแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกันในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ อำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

17. Equity
Equity คือผลรวมของคุณสมบัติที่โดดเด่นของแบรนด์ที่ผสานรวมกันจนเกิดเป็นความเชื่อมั่น และความคาดหวังที่กลุ่มเป้าหมายจะมีให้ต่อแบรนด์นั้นๆ

18. Empowerment
Empowerment” หมายถึง การทำให้บุคคลที่ปฏิบัติงานเกิดแรงจูงใจภายใน (Intrinsic motivation) รวมทั้ง ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองว่ามีความสามารถเพียงพอ (Self-efficacy) ที่จะทำงานนั้นสำเร็จ  ให้เกิดขึ้นในตัวของผู้ปฏิบัติงาน

19. Engagement
Engagement คือ การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กร

20. Project
โครงการ หมายถึง กระบวนงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายๆ กิจกรรม ซึ่งมีลำดับก่อนหลังอย่างชัดเจน เป็นกระบวนการที่สร้างความเปลี่ยนแปลง กระทำเพื่อสนองหรือสนับสนุนต่อวัตถุประสงค์โดยตรง กระบวนการนั้นๆ ทำเป็นการเฉพาะกิจ หรือกล่าวได้ว่ามีจุดเริ่มต้นและจุดจบของกระบวนการ และการดำเนินการต่างๆ จะถูกจำกัดด้วยเวลาและค่าใช้จ่าย

21. Activies
หมายถึง  การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา

22. Leadership
ภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำ (Leadership) ว่า หมายถึงกระบวนการชี้นำและจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้า หมายและวัตถุประสงค์ขององค์การ และเป็นกระบวนการต่างๆ ที่ผู้บริหารสามารถกระตุ้นให้เกิดสัมฤทธิ์ของงานตามวัตถุประสงค์ขององค์การ โดยผ่านกระบวน การโน้มน้าว จูงใจให้สมาชิกในองค์การมีความร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการ ปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จ

23. Leaders
หมายถึง  ผู้นำบุคคลที่มีความสามารถที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย  โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศนคติและการกระทำของผู้อื่น

24. Follows
หมายถึง  การติดตาม

25. Situations
หมายถึง  สถานการณ์ (Situation) สิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวย

26. Self awareness
การรู้จักตน (Self awareness) คือ การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง

27. Communication
การสื่อสาร (Communication) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน

28. Assertiveness
Assertivenessคือ การแสดงออกอย่างเหมาะสมคือพฤติกรรมหรือการแสดงออกด้วยคำพูด หรือกิริยาอาการว่าเรามีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่ปิดบังหรือ อ้อมค้อม ด้วยความสุภาพตรงไปตรงมาในเวลาที่เหมาะสมโดยไม่ก้าวร้าว การแสดงออกอย่างเหมาะสมเป็นการรักษาสิทธิ์หรือเป็นการแสดงสิทธิ์ของมืออาชีพ ที่พึงกระทำในโลกของการจัดการสมัยใหม่

29. Time management
การบริหารเวลา คือ กระบวนการทำงานอย่างมีระบบ โดยใช้เวลาน้อยแต่ให้ผลคุ้มค่ามากสุด

30. POSDCoRB
POSDCORBคือ การแบ่งงานตามความถนัดและความเหมาะสมความซึ่งประกอบด้วย

                P=PLANING การวางแผน

                o=organizing การจัดองค์การ

                s=staffing การสรรหาคนเข้าทำงาน

                d=directing การอำนวยการ

                co=coordinating การประสานงาน

                r=reporting การรายงาน

                b=budgeting การงบประมาณ

31. Formal Leaders
ผู้นำแบบเป็นทางการ (Formal Leaders) หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า

32. Informal Leaders
ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ (Informal Leaders) คือ ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่
มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยงานให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะมีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น

33. Environment
หมายถึง   สิ่ง แวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฎจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ

34. Globalization
Globalization คือกระบวนการการลดพื้นที่ชายขอบทางอำนาจของรัฐ(Deterritorialization)

33. Competency
Competency หรือเรียกว่าความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ

34. Organization Cultural
วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) หมาย ถึง แบบแผนความคิด ความรู้สึก ที่สมาชิกได้รับการกำหนดร่วมกันภายในองค์การ เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้สมาชิกประพฤติและมีการสืบทอดไปสู่สมาชิกใหม่ของ องค์การ

35. Individual Behavior
พฤติพฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล
ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 4 องค์ประกอบ คือ
การรับรู้ (Perception)
 ทัศนคติ (Attitudes)
ค่านิยม (Values)
การจูงใจ (Motivtion)
องค์ประกอบเหล่านี้ นอกจากจะมีอิทธิพลทำให้แต่ละบุคคลมีลักษณะและพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งยังมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของบุคคลในการปฎิบัติงานอีกด้วย

36. Group Behavior
คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล เช่น ความนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง ความต้องการ ประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมของกลุ่มเป็นผลมาจากองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยี การจัดการสภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนพฤติกรรมที่หน่วยงานกำหนดให้ทำ และพฤติกรรมที่ต้องทำเร่งด่วน ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยกะทันหัน เช่น หน่วยงานมีนโยบานที่จะเร่งปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น ก็อาจจะประกาศหน้าที่ความรับผิดชอบขึ้นใหม่ ผลของพฤติกรรมของกลุ่มนี้จะมีผลต่อผลผลิต ความพึงพอใจ การพัฒนาบุคคล และประสิทธิภาพขององค์กรด้วย

37. Organization Behavior
รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับ สาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้

38. Team working
การทำงานเป็นทีม (team work) คือกลุ่มบุคคลที่ทำงานมีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน สามัคคี มีเป้าหมายร่วมกัน และเชื่อใจกัน

39. Six Thinking Hats
เทคนิคการสอนแบบหมวก 6ใบ (six thinking hats)  เป็น การรวมความสอนด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน  ทำ ให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ

40. Classroom Action Research
การปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom  Action  Research)คือ  กระบวนการแสวงหาความรู้อันเป็นความจริงที่เชื่อถือได้ในเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน  เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในบริบทของชั้นเรียน


วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบ


คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ


คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
Classroom management  (การจัดการชั้นเรียน)  หมายถึงการจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทั้งภายในชั้นเรียน  และภายนอกชั้นเรียน  การจัดการมีทั้งทางชีวภาพและกายภาพ  
Classroom management  มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา  คือเพราะการศึกษาเป็นการพัฒนาเยาวชน  ดังนั้นการศึกษาที่ดีก็ต้องสอดคล้องกับความต้องการของเยาวชนแต่ละคนแต่ละพื้นที่  ที่มีความต้องการและความสามารถไม่เหมือนกัน  ดังนั้น Classroom management  (การจัดการชั้นเรียน)  มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการศึกษาและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาที่จะต้องจัดการชั้นเรียนให้เข้ากับผู้เรียน  ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดการชั้นเรียนให้ทันต่อโลกปัจจุบัน
2.ท่าน เข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
1.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการ ปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
ตัวอย่างเช่น  เราควรที่จะพัฒนาตนเองให้ใส่ใจศึกษาค้นคว้าริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาชีพอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
            1)    หาความรู้จากเอกสาร ตำรา และสื่อต่าง อยู่เสมอ
            2)    จัดทำและเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ตามโอกาส
            3)    เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา หรือฟังการบรรยาย หรืออภิปรายทางวิชาการ ฯลฯ
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
ตัวอย่างเช่น  เรา ควรที่จะพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู ทันสมัย ทันเหตุการณ สามารถนำมาวิเคราะห์ กำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การอาชีพ และเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น
             1)     นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอน
             2)     ติดตามข่าวสารเหตุการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมอยู่เสมอ
             3)     วางแผนพัฒนาตนเองและพัฒนางานฯลฯ
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
ตัวอย่างเช่น  เราควรที่จะพัฒนาตนเองให้แสดงออกทางร่างกาย กริยา วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัวอย่างเช่น
             1)     รักษาสุขภาพและปรับปรุงบุคลิกภาพอยู่เสมอ
             2)    มีความเชื่อมั่นในตนเอง
             3)     แต่งกายสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะและทันสมัย
             4)    มีความกระตือรือร้น ไวต่อความรู้สึกของสังคมฯลฯ
3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
หลักการจัดชั้นเรียนที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
เพื่อ ให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่น สบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การ จัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้น เรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็น รูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควร จัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดย จัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุม ห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงาน ไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควร จัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพ แวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และ การเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดี ได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับ ชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการ อ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้ เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบาย เหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควร จัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้น เรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้น เรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนัง เพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และ บริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค
                5. ควร จัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่าง จัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและ หนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่ เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
7. ควร จัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลัก สูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้ เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพ ห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็น รูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรม การเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถาม กล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้ เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ ในที่สุด
จาก ที่ กล่าวมาทั่งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้าน กายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการ เรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั่งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติ ปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
ลักษณะของชั้นเรียนที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน  คือ
เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
ครูประเภทที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน  คือสร้างบรรยากาศแบบประชาธิปไตย นัก เรียนและครูจะยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ แสดงความคิดเห็น ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้รู้จักทำงานร่วมกัน รู้จัก สิทธิและหน้าที่ของตนเอง มีเหตุมีผล นักเรียนจะรู้สึกสบายใจในการเรียน เป็น บรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา (1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน
บริเวณ โรงเรียนควรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นสนามเด็กเล่นอยู่ติดกับตัวอาคาร โดยจัดให้ใช้ได้ในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย พื้นผิวควรแข็งเพื่อให้แห้งเร็วเมื่อฝนตก ควรตั้งอยู่ทางด้านที่แดดส่องถึง เพื่อให้เด็กๆ ได้รับแสงแดดยามเช้า บ่อทรายควรอยู่บริเวณนี้ ไม้เลื้อยบนกำแพง ต้นไม้ และแปลงดอกไม้ช่วยให้บริเวณนี้เป็นสถานที่ที่น่าสบายสำหรับเด็กๆ ส่วนที่สองอยู่ห่างจากตัวอาคารใช้เป็นที่เล่นและออกกำลังกาย ควรจัดเป็นอาณาจักรสำหรับเด็ก ทำทางสำหรับรถเข็นและทางสำหรับเดิน โดยออกแบบทางเดินให้โค้งไปมาน่าเดินและผ่านจุดที่น่าสนใจ เนินเขาเป็นจุดเสริมที่มีคุณค่ามากในสนามเด็กจะได้วิ่งขึ้นและลง เป็นการใช้กล้ามเนื้อหลายส่วนอย่างเป็นอิสระและเป็นธรรมชาติ ส่วนหนึ่งของพื้นที่เป็นที่ตั้งของชิงช้า ไม้ลื่น ต้นไม้พุ่มเตี้ยๆ และปลูกไม้ดอกหรือพืชผักสวนครัว  ส่วนอุปกรณ์ ชิ้นสำคัญ คือ บ่อทรายที่บรรจุทรายพูนเหนือระดับดินเล็กน้อย มีม้านั่งยาวตัวเตี้ยล้อมรอบ สิ่งที่ให้ความเพลินเพลินแก่เด็กเป็นพิเศษ คือ บ้านเด็กเล่นที่ไม่ประณีตหรือเสร็จสมบูรณ์จนเกินไป โดยจัดเตรียมโครงไม้และหลังคาไว้เพื่อให้เด็กทำส่วนที่เหลือกันต่อเอง มีลังไม้สำหรับใส่อุปกรณ์กลางแจ้ง อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ รถเข็นให้เด็กเข็นหรือลากไปตามทางเดิน หรือจะขึ้นไปนั่งก็ได้ มีชิงช้า ไม้ลื่น ราวสำหรับห้อยโหน ตาข่ายปีนป่าย มีอุปกรณ์ก่อสร้าง เช่น กระดาน นั่งร้าน บันได อิฐ พลั่ว ถัง เครื่องมือทำสวน เป็นต้น
บริเวณภายในห้องและสภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย
บริเวณ ภายในห้องควรจะเป็นกันเอง และสว่างไสวเพียงพอ ไม่จ้าจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดความร้อน เด็กจะขาดสมาธิในการเรียน อาจใช้ผ้าม่านเพื่อช่วยกรองแสงให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ ไม่ควรเป็นห้องที่มืดจนเกินไป หากห้องมีลักษณะมืด ควรเปิดไฟ หรือตั้งโคมไฟในบางจุดที่จำเป็น และหลีกเลี่ยงการใช้แสงที่ไม่ใช่แสงธรรมชาติในเวลากลางวัน ใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้สีธรรมชาติ สีสันบนผนังห้องเรียนทาสีอ่อนเพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าอยู่ ให้เด็กที่ได้มานั่งในห้องได้นึกถึงความสดชื่นยามอยู่ใต้ต้นไม้ ที่ออกดอกบานสะพรั่ง  ส่วนอุปกรณ์ ภายในห้องเรียนควรมีอ่างล้างมือขนาดใหญ่ที่อยู่ในระดับต่ำพอที่เด็กๆ จะเอื้อมมือถึงระดับน้ำได้ง่าย ลอยเรือลำเล็กๆ หรือ แช่กระดาษวาดเขียนได้ มีช่องเก็บของส่วนตัวของเด็กแต่ละคน มีตู้ขนาดใหญ่สำหรับเก็บวัสดุที่ครูต้องใช้ มีชั้นสำหรับวางอุปกรณ์และของเล่น อาจมีมุมตุ๊กตา มุมงานช่าง มีโต๊ะสำหรับทำกิจกรรมที่มีน้ำหนักเบาที่เคลื่อนย้ายได้ ของเล่นที่จัดไว้เป็นของเล่นที่มีความสมบูรณ์น้อยแต่ชี้ช่องทางในการเล่นได้ มาก เช่น ตุ๊กตาที่ไม่ได้วาดหน้าไว้อย่างตายตัว นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้สีน้ำ พู่กัน กระดาษ สีเทียน ขี้ผึ้ง ที่มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะอีกด้วย
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
คุณภาพผู้เรียนสำหรับข้าพเจ้าคิดว่าคุณภาพด้านต่างๆของผู้เรียนตามที่หลักสูตรของสถานศึกษา  หรือหลักสูตรของชั้นเรียนกำหนดมาตรฐานไว้อยู่แล้ว  ได้แก่
1.ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 
ตัวอย่างเช่น มีวินัย มีความรับผิดชอบ  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความกตัญญูกตเวที  ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า  ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
2.ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างเช่น รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม  เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
3. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่างเช่น  มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ  เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน  ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
4. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ  มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่างเช่น  สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม  สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้  ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่างเช่น  มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์  มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์  สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ  สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น  มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล  สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา  และมีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่างเช่น  มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ  มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์  ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ  มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น  และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่างเช่น  ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ  ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6.ผล จากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียน รู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
           การ พัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคนก็คือ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลาย ๆ รูปแบบ โรงเรียนมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงาม ให้แก่นักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
           โดย ทางโรงเรียนต้องตระหนักในความสำคัญส่วนนี้ จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ ให้นักเรียนได้สัมผัสความดีที่เป็นรูปธรรม จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในรูปแบบของวิถีชีวิตไทย การออมทรัพย์วันละบาท และธนาคารแห่งคุณธรรม 
            การ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจริยธรรมให้นักเรียน ด้วยการปรับปรุงระเบียบการลงโทษนักเรียน มาเป็นระเบียบการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน งดการลงโทษทุกวิธี แต่เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ทำความดีทดแทนความผิด ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนคือ
                   1. ให้นักเรียนวิเคราะห์ความผิดของตนเอง
                   2. ครูอาจารย์ ชมว่านักเรียนเป็นคนซื่อสัตย์ ทำผิดแล้วยอมรับผิด
                   3. ให้นักเรียนเสนอวิธีทำความดีทดแทน
                   4. นักเรียนปฏิบัติตามวิธีที่เสนอและครูอาจารย์ติดตามผล
                   5. ประกาศความดีให้ทุกคนประจักษ์
จะ ทำให้นักเรียนทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีความแตกต่างทำให้เกิดความมุ่งมั่นว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาให้เป็นคนดีได้ ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีเสริมแรงเข้าช่วย โดยการให้ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความเป็นกัลยาณมิตร การยอมรับซึ่งกันและกัน การให้รางวัลแทนการลงโทษ ให้โอกาส และสร้างโอกาสให้นักเรียนประพฤติตนเป็นคนดี
ทาง โรงเรียนต้องจัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเพื่อนรักรักเพื่อน" มุ่งเน้นให้นักเรียนกระทำตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ จึงเป็นเพื่อนที่รักของนักเรียนคนอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็จะเลือกคบเพื่อนรักที่เป็นคนดีและสามารถพัฒนาตนเองจนเป็นที่ รักของทุกคน ในโครงการดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการคือ
                   1. กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
                   2. กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
                   3. กิจกรรมธนาคารแห่งคุณธรรม กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
เป็น การปฏิบัติตนของนักเรียน เริ่มตั้งแต่นักเรียนมาถึงโรงเรียนในตอนเช้าบริเวณประตูโรงเรียน บริเวณโรงอาหาร ในห้องเรียน ก่อนเข้าแถว การเล่นนอกห้องเรียน การเข้าแถวเคารพธงชาติ โฮมรูม การเข้าแถวไปเรียนวิชาพิเศษ มารยาทในห้องเรียน การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การรับประทานอาหารกลางวัน การทิ้งขยะ การรอผู้ปกครอง การกลับรถรับ - ส่ง
กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
นัก เรียนในแต่ละห้องฝากเงินออมทรัพย์ประจำวัน กับเจ้าหน้าที่การเงินของห้อง และเมื่อสิ้นปีการศึกษา ประมาณต้นเดือนมีนาคมอาจารย์ที่ปรึกษา เบิกเงินจากธนาคารจ่ายคืนให้คณะกรรมการ นักเรียนที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของกิจกรรมออมทรัพย์เพื่อจ่ายคืนแก่ผู้ฝากแต่ละห้อง ตามจำนวนเงินในหลักฐานสมุดบัญชีของห้อง