วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3


 
 
ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ


ผู้นำทางวิชาการ
รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร



1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กรรมการกฤษฎีกา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ ภายหลังได้รับเลือกจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
รองศาสตราจารย์ นรนิติ จบการศึกษาปริญญาตรีจาก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วุฒิบัตรด้านโซเวียตศึกษา จากมหาวิทยาลัย Fribourg สวิตเซอร์แลนด์, ปริญญาโทด้านการทูต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และรัสเซียศึกษา จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เคยเป็นคณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2521-2522 เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2532 - ?) เคยเป็นกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สูงสุดที่ได้รับ    ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)

2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
-หนังสือ เบื้องหน้าเบื้องหลังการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ” 2550
-หนังสือ รู้รอบตัวในรอบโลก” 2548
-หนังสือ พรรคการเมือง
-หนังสือ การปกครองและการเมืองของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-หนังสือ การเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์, รองศาสตราจารย์ ดร.จรัส สุวรรณมาลา, รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต, รองศาสตราจารย์ ดร.ปธาน สุวรรณมงคล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ วชิรขจร, ศาสตราจารย์ ดร.มิชิโอะ มูรามัทซุ, ศาสตราจารย์ ดร.โนบุกิ โมชิดะ, ศาสตราจารย์ ยูทากะ คาทายามา, ศาสตราจารย์ มาซาฮิสะ ฮายาชิ, ศาสตราจารย์ เคนโจ อะกิซูกิ, รองศาสาตราจารย์ ฟูมิโกะนากาอิ, 2545
-ชีวประวัตินายกรัฐมนตรีไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475 - 2529
-การเมืองไทยตามนัยรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 10 ธันวาคม 2475
-บทบาทของก๊กการเมืองนอกระบบพรรค : ศึกษากรณีกลุ่มราชครู
                -หนังสือเผยแพร่ เรื่อง "เขตการศึกษาแบบหนึ่งของอเมริกัน : ดูของคนอื่นแล้วคิดถึงของตนเอง" เงินทุนจากงบประมาณรายจ่ายจากรายได้พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2544, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21 หน้า.

3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
ชอบในประเด็นที่รองศาสตราจารย์ นรนิติ ได้เขียนผลงานเกี่ยวกับเรื่อง สู่สยามนามขจรเป็นเรื่องเกี่ยวกับบรรพชนของตระกูลเศรษฐบุตร ซึ่งผู้เขียนได้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง และเขียนเล่าโดยใช้มุมมองของตนเองประกอบกับหลักฐานที่ค้นเจอ

อ้างอิงจาก http://topscholar.org/blog

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน
หลักการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor  จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
                    2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                    2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
                    2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
                    2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                    2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)

ทฤษฎีบริหารจัดการ
ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
ทฤษฎีการบริหารแบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม  ดังนี้
1. กลุ่มคลาสสิค  (Classical Organizational Thought)
เป็นรูปแบบการบริหารที่มีหลักเกณฑ์(Scientific  Management)
                                Taylor                                   Fayol เน้นหน้าที่ในการบริหาร
                                1. ค้นวิธีทำงานที่ดีที่สุด       1.  การวางแผน (P)
                                2. คัด/พัฒนาคน                     2. การจัดองค์กร(O)
                                3. วิธีทำงาน                            3. การบังคับบัญชา(C)
                                4. ประสานงาน                      4. การประสานงาน(C)
                                                                                   5. การควบคุมงาน(C)   

2. การบริหารกลุ่มมนุษยสัมพันธ์
การทดลอง Hawthorn Plant ของ Mayoมีแนวคิด 5 ข้อที่มุ่งคนเป็นหัวใจของการบริหาร
                                1. กฎเกณฑ์การทำงานของคนในกลุ่ม
                                2. รางวัลคนในกลุ่ม
                                3. ความรับผิดชอบของคนในกลุ่ม ผู้บิหารควบคุมน้อยสุด
                                4. การบังคับบัญชาแบบมีส่วนร่วม
                                5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในกลุ่ม

3. ทฤษฎีการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์
แมกเกรเกอร์ (McGregor)แบ่งธรรมชาติคนเป็น 2 แบบคือ

                ทฤษฎี X                                                ทฤษฎี Y
                มองคนในแง่ไม่ดี                                มองคนในแง่ดี    

1.กลุ่มคลาสสิค (Classical Organizational Thought)
ผู้ที่คิดค้นทฤษฎีนี้คือ เฟรดเดอร์ริค เทเลอร์ (Frederick w. Taylor)  ซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาของทฤษฎีบริหารกลุ่มคลาสสิค  โดยมีความเชื่อว่า เขาสามารถวางหลักเกณฑ์ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพได้
ต่อมา ลินคอน เออวิค (Lyndall Urwick)  และ ลูเธอร์ กูลิค (Luther Gulick)  ได้ทำการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของผู้บริหารจะประกอบด้วยหลักที่ นิยมเรียกกันว่า POSDCoRB

2.กลุ่มมนุษยสัมพันธ์(Human Relation Approach)
ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงจุดอ่อนของกลุ่มทฤษฎีคลาสสิค โดยได้มีการทดลองที่ Hawthorne Plant ซึ่งกำหนดสมมติฐานว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพและปริมาณของแสงสว่างกับประสิทธิภาพของงาน  จากผลการทดลอง 3 ครั้ง พบว่า  ผลผลิตของคนงานไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพของแสงสว่างและมีตัวแปรหลายตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ระหว่างการทดลอง
ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อตรวจสอบผลการทดลองที่ Hawthorne Plant  โดยตั้งสมมติฐานว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพของการทำงานมีความ สัมพันธ์กับผลผลิตที่ได้รับ
ผลการทดลองพบว่า         
              พฤติกรรมการทำงานของพนักงาน ไม่ได้เกิดจากมาตรฐานงานที่องค์การกำหนด  พนักงานรวมตัวกันเป็นโครงสร้างสังคมกลุ่มย่อย  อันประกอบด้วย  ปทัสถาน (norms)  ค่านิยม (value) และ จิตใจ (sentiments)  ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน

3.  กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์  (Behavioral Science Approach)
ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นโดยการผสมผสานระหว่างสอง  ทฤษฎีแรก  ผนวกกับหลักการทางด้านจิตวิทยา    สังคมวิทยา  การเมืองและเศรษฐศาสตร์  เป็นกลุ่ม ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมทางสังคมหรือพฤติกรรมของกลุ่มย่อยที่เหมาะสมกับโครงสร้างการบริหารงานรูปแบบ            
ซึ่งอาจต้องใช้ศาสตร์การบริหารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา หรือ อื่น ๆ ศาสตร์เหล่านี้จัดได้ว่า เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมกลุ่มย่อย ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพประสิทธิผลของงานในองค์การ

4.  กลุ่มทฤษฎีระบบ (A System View)
ทฤษฎีการบริหารในปัจจุบันได้พยายามให้ความสำคัญกับระบบ กล่าวคือ มีปัจจัยป้อน (input)กระบวนการ(process) และผลผลิต (output)  ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน  กลุ่มทฤษฎีระบบแยกเป็น2 กลุ่ม คือ
4.1 ระบบปิด(ระบบเหตุผล) 
               มีความเชื่อว่า องค์การเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมา เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ แนวคิดนี้มีการตัดสินใจ แก้ปัญหาตามเหตุผลบนฐานของกฎเกณฑ์ ระเบียบที่ตั้งไว้  เน้นความสนใจเฉพาะภายในระบบขององค์กร
4.2  ระบบเปิด
               เชื่อว่า องค์การมีศักยภาพที่จะได้รับข้อมูลย้อนกลับ เพื่อนำข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงส่วนต่างๆ ของระบบคือ ปัจจัยป้อน กระบวนการ และผลผลิตโดยองค์การที่อยู่รอดคือ องค์การที่ปรับตัวได้สมดุลกับสิ่งแวดล้อม  และเป็นองค์การเปิด เน้นความสนใจระบบทั้งในและ   นอกองค์การ
          อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง, (ม.ป.ป.) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพ การพิมพ์และสติวดิโอ

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัวเอง

นางสาวธนพรรณ  อ้อวิจิตร








@@##ประวัติส่วนตัว##@@
ข้าพเจ้า:นางสาวธนพรรณ  อ้อวิจิตร
ชื่อเล่นตา   เกิดวันที่25 เดือนธันวาคม พ.ศ2532 อายุ21ปี
ที่อยู่อาศัย:บ้านเลขที่551 หมุ่ที่11 ตำบลสวนหลวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปัจจุบันพักอยู่:หอพักลุงเขิม
ครอบครัว:ข้าพเจ้ามีพี่น้องรวม4คน (ข้าพเจ้าเป็นบุตรคนที่สอง)


@@##ประวัติการศึกษา##@@
จบการศึกษาระดับชั้นอนุบาล&ระดับชั้นประถมศึกษา:ณโรงเรียนบ่อล้อ อำเภอเชียรใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช
จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น&ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย:ณโรงเรียนเชียรใหญ่
อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปัจจุบันกำลังศึกษา:ระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คณะครุศาสตร์ หลักสูตรสังคมศึกษา01


@#**ปรัชญา**#@
ฝันให้ไกล
 ไปที่ละก้าว
 ทางยังอีกยาว
 ก้าวไปให้ถึง

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายการจัดการชั้นเรียน

กิจกรรมที่ 1

ให้นักศึกษาค้นหาความหมายคำว่า  การจัดการชั้นเรียน  การบริหารการศึกษา  จากหนังสือ อินเตอร์เน็ตแล้วสรุปแล้วเขียนลงบทลงในกิจกรรมที่ 1 ของเว็บล็อกของนักศึกษา
ความหมายการจัดการชั้นเรียน
การจักการชั้นเรียนคือ การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนเพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
 การจัดสภาพแวดล้อมต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.ความสะอาดความปลอดภัย
2.ความมีอิสระต่อการมีขอบเขตในการเล่น
3.ความสะดวกในการทำกิจกรรม
4.ความพร้อมของอาคารสถานที่
5.ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อและเครื่องเล่น
6.บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์

ความหมายของ การบริหารการศึกษา
หมายถึงการดำเนินงานของกลุ่มบุคคล ซึ่งอาจเป็นการดำเนินงานของครูใหญ่ร่วมกับครูน้อยในโรงเรียน  อธิการบดีร่วมกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย  รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับอธิบดีกรมต่างๆและครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ  และกลุ่มบุคคลเหล่านี้ต่างร่วมมือกันพัฒนาคนให้มีคุณภาพทั้งสิ้น  การจะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น จะต้องมีการดำเนินการในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การวัดผล การจัดอาคารสถานที่และพัสดุครุภัณฑ์ การสรรหาบุคคลมาดำเนินการหรือมาทำการสอนในสถาบันการศึกษา การปกครองนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีมีวินัย  และอื่นๆ  ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้รวมเรียกว่า ภารกิจทางการบริหารการศึกษาหรืองานบริหารการศึกษานั่นเอง
อ้างอิง     http://www.drkanchit.com

คำอธิบายรายวิชาการจัดการชั้นเรียน

การจัดการชั้นเรียนรายวิชา1063101