เรื่อง วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
1.ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) หมายถึง แบบแผนความคิด ความรู้สึก ที่สมาชิกได้รับการกำหนดร่วมกันภายในองค์การ เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้สมาชิกประพฤติและมีการสืบทอดไปสู่สมาชิกใหม่ขององค์การ ซึ่งมีผลให้สมาชิกองค์การหนึ่ง มีความแตกต่างไปจากสมาชิกของอีกองค์การหนึ่ง ซึ่งองค์การมีลักษณะเป็นหน่วยงานสังคมอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่ไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนทางสภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและคู่แข่งขันตลอดเวลา องค์การจึงต้องสร้างระเบียบ แบบแผนให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติร่วมกันเพื่อเอาชนะความไม่แน่นอนต่าง ๆ เหล่านี้
2.แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
ความคิดพื้นฐาน 2 แนวทาง คือ แนวทางที่เห็นว่าวัฒนธรรมเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ (culture as a variable) และแนวทางที่เห็นว่าองค์การเปรียบเสมือนวัฒนธรรมๆ หนึ่ง (culture as a root metaphor)
แนวทางแรก ที่เห็นวัฒนธรรมองค์การเป็น พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ และเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในบรรดาตัวแปรหลายตัวที่องค์การมีอยู่ แนวทางแรกมีชื่อเรียกว่า “culture is something an organization has”
ส่วนแนวทางหลัง เชื่อว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นความคิด ความเชื่อ ที่อยู่ภายในจิตใจ ของคนกลุ่มหนึ่งและไม่ใช่เป็นเพียงตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ แต่ตัวองค์การเองทั้งหมดคือวัฒนธรรมๆ หนึ่ง หรืออุปมาได้ว่าเปรียบเสมือนวัฒนธรรม แนวทางหลังมีชื่อเรียกว่า “culture is something an organization is”
3.แนวทางพัฒนาองค์การ
-สิ่งที่ผู้นำองค์การให้ความสนใจ ติดตาม และควบคุม เน้นย้ำอย่างสม่ำเสมอจะเป็นแบบอย่างให้แก่พนักงานทั้งหลาย เช่น การใส่ใจในการควบคุมคุณภาพของสินค้าและบริการ การสอบถามในกิจกรรมที่จะเกี่ยวเนื่อง หรือมีผลกระทบต่อคุณภาพและบริการ เป็นต้น
-ปฏิกิริยาหรือการตอบสนองต่อเหตุการณ์สำคัญ หรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับองค์การ จะกลายเป็นค่านิยมหรือความเชื่อของคนในองค์การได้ เช่น เมื่อกิจการเกิดปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินอย่างมาก แต่ผู้บริหารก็มิได้เลิกจ้างหรือปลดพนักงาน แต่จะใช้วิธีการอื่น ๆ ในการลดปัญหาที่เกิด จึงทำให้พนักงานเกิดการรับรู้ว่าผู้บริหารเห็นความสำคัญของพนักงานและมีการทำงานร่วมกันแบบคนในครอบครัว
-สิ่งที่ผู้บริหารกระทำตนเป็นแบบอย่าง สั่งสอน และชี้แนะ เช่น การที่บิลเกตต์ทุ่มเทการทำงานอย่างหนักก็จะเป็นแบบอย่างให้พนักงานเชื่อถือ
4.กลยุทธการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงและวัฒนธรรมมีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการธำรงรักษาหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นโดยกำหนดแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับค่านิยมขององค์การ
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นสูงแต่วัฒนธรรมไม่มีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการกำหนดค่านิยมขององค์การให้ชัดเจน ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจหลัก (Mission) ขององค์การ
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นต่ำและวัฒนธรรมไม่มีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการพัฒนาองค์การโดยรวม การพัฒนาองค์การนั้นเป็นการกระทำที่มีแบบแผนในการปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการทำงานขององค์การทั้งระบบ โดยนำเทคนิคการพัฒนาองค์การประเภทต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์การด้วย
กรณีผู้นำมีความมุ่งมั่นต่ำแต่วัฒนธรรมองค์การมีความชัดเจน กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้คือการพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ (Visionary Leadership) และตระหนักว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ นอกจากนี้ควรกำหนดความสำเร็จในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญก้าวหน้าเป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (Key Performance Indicator - KPI) ของผู้นำด้วย
การสร้างวัฒนธรรมองค์การถือเป็นภารกิจที่ยากเพราะจะต้องเกี่ยวข้องกับ ค่านิยม ความเชื่อ บรรทัดฐานและพฤติกรรมของคนในองค์การ วัฒนธรรมองค์การอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งจับต้องได้แต่สามารถเป็นคลื่นใต้น้ำ (ขอใช้คำที่กำลังฮิตหน่อยนะครับ) ที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนแปลงหรือการปรับตัวขององค์การสำเร็จหรือล้มเหลวได้ กระบวนการสร้างวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพราะหากกระบวนการดำเนินไปอย่างเหมาะสม (Virtuous Process) จะทำให้พฤติกรรมของคนเป็นไปทิศทางที่สนับสนุนต่อความสำเร็จขององค์การ (Productive Behavior) ในทางตรงกันข้ามหากดำเนินไปอย่างไม่เหมาะสม (Destructive Process) จะส่งผลให้พฤติกรรมของคนเป็นไปทิศทางที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จขององค์การ(Dysfunctional Behavior) การสร้างวัฒนธรรมองค์การไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวที่องค์การใด ๆ ก็สามารถนำไปใช้ได้ ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างวัฒนธรรมองค์การจะต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าองค์การของท่านมีลักษณะอย่างไรและวัฒนธรรมแบบใดที่องค์การต้องการ เพื่อจะได้นำมาออกแบบกลยุทธ์สำหรับสร้างวัฒนธรรมองค์การให้เหมาะสมต่อไป
5. แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
วัฒนธรรมองค์การใดจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกระทำตัวเป็นตัวอย่างก่อน ในขณะเดียวกันต้องมีความตั้งใจจริง และมีความผูกพันอย่างจริงจังในการสร้างให้เกิดบรรยากาศของการควบคุมโดยใช้ วัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญควรมีการปรับวัฒนธรรมองค์การตลอดเวลา เพราะการปลูกฝังค่านิยมให้ฝังแน่นอย่างถาวรอาจทำให้วัฒนธรรมนั้นขาดการพัฒนา ปรับปรุงให้เหมาะสมลงตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
วัฒนธรรมแต่ละแบบสามารถสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรได้ทั้งสิ้น การยึดวัฒนธรรมแบบใดหรือผสมผสานมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับจุดเน้นด้านกลยุทธ์ขององค์กร และความจำเป็นของเงื่อนไขแวดล้อมภายนอกเป็นสำคัญ จึงเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้นำที่ต้องมิให้องค์กรหยุดชะงักอยู่กับวัฒนธรรมเดิม ซึ่งอาจเหมาะสมกับอดีต แต่ไม่อาจทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อีกต่อไป
อ้างอิง
http://202.29.22.164/e-learning/cd-1595/SOC07/topic4/linkfile/print5.htm
www.sdtc.go.th/upload/forum/think.doc